งานออกแบบและคำนวณระบบดับเพลิงด้วยน้ำอัตโนมัติ
Design and calculation of automatic water
fire extinguishing systems
นายกิตติโชติ ศุภกำเนิด
Mr.Kittichote Supakumnerd
วิศวกรชำนาญการพิเศษ
กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
บทคัดย่อ
จากการดำเนินงานที่ผ่านมาของศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม
(Industry Transformation Center หรือ ITC) โดยปัจจุบันเรียก
ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมดีพร้อม DIPROM ITC มีกลไกที่เป็นศูนย์การบริการบ่มเพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ให้เป็น SME Transformer แบบครบวงจรในลักษณะ 3P ประกอบด้วย Product Transform
Process Transform และ People Transform เริ่มตั้งแต่การนำเอางานวิจัย แนวคิด
มาผ่านกระบวนการออกแบบใหม่ให้เหมาะสมกับการผลิต การนำเอาผลิตภัณฑ์ต้นแบบอุตสาหกรรม
การเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสนับสนุนตลอดห่วงโซ่อุปทาน
และการให้การสนับสนุนสินเชื่อหรือร่วมทุนจากธนาคารเครือข่ายภาครัฐเพื่อให้วิสาหกิจและผู้ขอรับบริการ
สามารถเปลี่ยนแปลงไปสู่อุตสาหกรรมใหม่ที่มีศักยภาพได้
การให้บริการในศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมนี้ ยังได้ครอบคลุมการให้คำปรึกษาแนะนำ
การออกแบบติดตั้งระบบทางวิศวกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพงานทางด้านวิศวกรรมต่างๆ
ในสถานประกอบการ
ภายใต้การกำกับและบริหารงานของกลุ่มส่งเสริมมาตรฐานเทคโนโลยีการผลิตและผลิตภัณฑ์
กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ที่มีภารกิจในการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ
โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมแห่งอนาคต
ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมเดิมที่ต้องมีการพัฒนาต่อยอด (S-Curve) และกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่แห่งอนาคต (New S-Curve) จากการดำเนินงานที่ผ่านมา
พบว่าผู้ประกอบการจะดำเนินกิจการต่าง ๆ ภายใต้กฎหมายที่ภาครัฐกำหนด
แต่ในการประกอบกิจการก็ยังพบอุบัติเหตุต่าง ๆ ในสถานประกอบการ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องอัคคีภัย
ดังนั้นการป้องกันอัคคีภัยจึงมีความจำเป็นเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อพนักงาน
อีกทั้งเป็นการป้องกันทรัพย์สิน สิ่งก่อสร้างในโรงงานตลอดเวลาที่ดำเนินกิจการ
เนื่องจากอัคคีภัยเป็นอุบัติภัยที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยไม่มีการคาดการณ์ได้หรือแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
โรงงานจำเป็นต้องมีระบบดับเพลิงเพื่อเป็นการดำเนินงานตามกฎหมายกรมโรงงานอุตสาหกรรม
ซึ่งเป็นประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการป้องกันอัคคีภัยในโรงงาน พ.ศ. 2552
กฎหมายที่ออกตาม พ.ร.บ. ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.
2554 ของกระทรวงแรงงานและกฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) ออกตามความใน พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร
พ.ศ. 2522 จึงจำเป็นต้องมีการป้องกันอัคคีภัย ตามกฎหมายที่กล่าวมาเพื่อป้องกันชีวิตและทรัพย์สินภายในโรงงาน
สามารถแจ้งเหตุและสามารถควบคุมอัคคีภัยที่เกิดขึ้นได้ทันเวลาจนไม่ขยายตัวลุกลาม
หรือทำให้อัคคีภัยที่เกิดขึ้นอยู่ในขอบเขตที่จำกัด
ซึ่งจะทำให้พนักงานและผู้ที่ใช้โรงงานได้มีระยะเวลามากพอในการอพยพหนีออกจากโรงงานได้ทัน
ทำให้พนักงานและผู้ที่ปฏิบัติงานในโรงงานมีความปลอดภัยยิ่งขึ้น และทำให้ทรัพย์สินในโรงงานเสียหายน้อยลง
ดังนั้น ในบทความนี้ ได้ออกแบบและคำนวณระบบดับเพลิงด้วยน้ำอัตโนมัติ
โดยใช้ระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงครอบคลุมพื้นที่อาคารทั้งหมด
ร่วมกับระบบท่อยืนและสายฉีดน้ำดับเพลิง
ภายใต้การให้บริการของศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม (Industry Transformation center: ITC) ที่เกิดจากความร่วมมือของกระทรวง
3 กระทรวง คือ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม และกระทรวงอุตสาหกรรม ที่มีวัตถุประสงค์ในการยกระดับงานทางด้านวิศวกรรม
ประกอบด้วยการปรับปรุงทั้งในแง่กระบวนการผลิตและการออกแบบงานวิศวกรรมต่าง ๆ
ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการรวมถึงผู้ขอรับบริการ
จากผลการดำเนินการ พบว่า พื้นที่อาคารโรงงานเก็บเม็ดพลาสติกแห่งนี้
เป็นโรงงานที่มีขนาดพื้นที่ 7,556 ตารางเมตร
เป็นอาคารโรงงานซึ่งเก็บกล่องกระดาษและพลาสติกที่เป็นเชื้อเพลิงอย่างดี
อาจก่อให้เกิดอันตรายจากอัคคีภัยได้
จึงต้องมีการติดตั้งระบบดับเพลิงด้วยน้ำอัตโนมัติ ทั้งนี้ในการออกแบบและติดตั้งระบบดังกล่าวต้องใช้ความระมัดระวัง
เพราะการติดตั้งจะต้องใช้วิธีการเชื่อมไฟฟ้า
และจะต้องมีการขนย้ายเม็ดพลาสติกออกก่อนในขณะที่มีการเชื่อมแนวท่อดับเพลิง
และต้องมีการเฝ้าระวังป้องกันหาอุปกรณ์กันไฟตลอดเวลา
โดยจากการออกแบบได้คำนวณท่อยืนไว้ทั้งหมด 4 ท่อยืน อัตราการส่งน้ำรวมเท่ากับ 1,250
แกลลอนต่อนาที ครอบคลุมพื้นที่ดังกล่าว
สามารถใช้เป็นระบบส่งน้ำดับเพลิงร่วมสำหรับทั้งสายฉีดน้ำดับเพลิงและระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงได้
และมีการคำนวณหัวกระจายน้ำดับเพลิงชนิดหัวหงาย จำนวน 672 หัว
โดยมีรายละเอียดดังนี้ Riser ที่ 1
คุมพื้นที่ 1,950 ตารางเมตร ใช้หัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ จำนวน 180 หัว Riser
ที่ 2 คุมพื้นที่ 1,800 ตารางเมตร ใช้หัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ
จำนวน 162 หัว Riser ที่ 3 คุมพื้นที่ 1,800 ตารางเมตร
ใช้หัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ จำนวน 162 หัว Riser ที่ 4
คุมพื้นที่ 2,016 ตารางเมตร ใช้หัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ จำนวน 168 หัว
โดยระบบดับเพลิงด้วยน้ำอัตโนมัติแบบโปรยน้ำฝอย (Sprinkler Systems) เป็นระบบดับเพลิงที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันชีวิตและทรัพย์สินในกรณีการเกิดอัคคีภัยได้ดี
ในด้านการคำนวณเครื่องยนต์สำหรับต้นกำลังขับปั๊มดับเพลิง เลือกใช้แบบ Vertical
Turbine Pumps คำนวณกำลังแรงม้าได้ 170 HP เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายของกรมโรงงานและพระราชบัญญัติ
ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554
มีระยะเวลาที่ใช้ดับเพลิงตามกฎหมายของกรมโรงงานอุตสาหกรรมให้ใช้ระยะเวลาต่ำสุด 30
นาที จากผลการดำเนินงาน พบว่า สามารถคำนวณปริมาณน้ำได้ 141.75 ลบ.ม.
แต่ปริมาณถังที่ออกแบบไว้มีขนาด 110 ลบ.ม. จึงได้ทำการต่อเข้ากับถังสูงของโรงงาน
ที่ความสูง 14 เมตร อีก 50 ลบ.ม. รวมปริมาณน้ำสำรอง 191.75 ลบ.ม.
เพียงพอสำหรับการจ่ายน้ำในเวลา 30 นาที
จากการดำเนินงาน พบว่า โรงงานมีระบบดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัย
เป็นไปตามข้อกฎหมายที่บังคับและสามารถสามารถป้องกันความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นจากอัคคีภัยได้ในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด
คำสำคัญ การปฏิรูปอุตสาหกรรม, อุตสาหกรรม 4.0, ระบบดับเพลิง, ระบบหัวกระจายน้ำ
หลักการออกแบบระบบวิศวกรรมโครงสร้างและสถาปัตยกรรมภายในอาคารก่อสร้าง
การออกแบบระบบวิศวกรรมโครงสร้างและสถาปัตยกรรมภายในอาคารก่อสร้าง
นอกจากจะต้องให้ความสำคัญเรื่องความสวยงามและพื้นที่การใช้สอยแล้ว
สิ่งที่เจ้าของอาคารและนักออกแบบต้องให้ความสำคัญด้วยก็คือ งานออกแบบและคำนวณระบบดับเพลิงด้วยน้ำอัตโนมัติภายในอาคาร
เพราะเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้
การส่งสัญญาณแจ้งเตือนและการทำงานของระบบควบคุมเพลิงจะต้องมีประสิทธิภาพช่วยหยุดยั้งเหตุเพลิงไหม้ให้สงบลงได้ ป้องกันไม่ให้ไฟลุกลามจนบานปลาย
การออกแบบและติดตั้งระบบดับเพลิงภายในอาคารและป้องกันอัคคีภัย
จะต้องออกแบบติดตั้งตามมาตรฐานระบบดับเพลิงของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
ซึ่งต้องออกแบบฟังก์ชันการใช้สอยอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างตามกฎหมาย
โดยใช้เกณฑ์สำหรับการพิจารณาประเภทพื้นที่ที่มีอันตรายตั้งแต่น้อยไปจนถึงมาก
สำหรับระบบดับเพลิงภายในอาคาร เพราะเนื่องจากการเกิดอัคคีภัยนำมาซึ่งความสูญเสียและผลกระทบต่อผู้ที่ประสบเหตุ
ดังนั้น ภาครัฐจึงมีการกำหนดกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน
และระงับอัคคีภัยในโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนหลายฉบับและกระจายอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของหลายหน่วยงาน
เช่น พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมต่างๆ เช่น
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ฉบับที่ 3 พ.ศ.
2543 พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ฉบับที่ 4 พ.ศ.
2550
รวมทั้งกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ภายใต้พระราชบัญญัติดังกล่าว
พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535
และกฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ พระราชบัญญัติความปลอดภัยอาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554
และกฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ เป็นต้น
ในที่นี้ขอกล่าวถึงเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานที่สำคัญ
2 หน่วยงาน คือ
1. กระทรวงอุตสาหกรรม
เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการกำกับดูแลการประกอบกิจการ
ของโรงงานอุตสาหกรรมโดยตรง
2. กระทรวงแรงงาน
เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลเรื่องความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้างในสถานประกอบกิจการ
(โดยทั่วไปโรงงานอุตสาหกรรมเข้าข่ายเป็นประเภทหนึ่งของสถานประกอบกิจการ)
ดังนั้น จึงจำเป็นที่ผู้ประกอบกิจการโรงงานในการดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัยจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับกฎหมายของกระทรวงแรงงานด้วย
ทั้งนี้ต้องเข้าใจว่ากฎหมาย คือ ข้อกำหนดขั้นต่ำที่โรงงานหรือสถานประกอบกิจการต้องพึงดำเนินการ
โดยมีเจตนารมณ์ คือ เพื่อให้โรงงานหรือสถานประกอบกิจการมีมาตรฐานทางด้านวิศวกรรมและมาตรการที่ถูกหลักวิชาการอย่างเพียงพอในการดำเนินการป้องกันและระงับอัคคีภัย
เพื่อป้องกันหรือบรรเทาความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้
ในการออกแบบการป้องกันอัคคีภัยจะต้องเริ่มส่วนที่เรียกว่า Passive ซึ่งเป็นส่วนหลักๆ ประกอบด้วย การแบ่งพื้นที่ป้องกัน การจัดทำทางหนีไฟและบันไดหนีไฟ รวมทั้งการปิดล้อมช่องในแนวดิ่งทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นช่องบันไดหรือช่องท่อ หลังจากนั้นก็ต้องเสริมด้วยส่วนที่เรียกว่า Active โดยหลักใหญ่ๆ ประกอบด้วยระบบเตือนภัย (Fire Alarm System) และระบบดับเพลิง ได้แก่ ถังสำรองน้ำเพื่อการดับเพลิง สถานีสูบน้ำดับเพลิงระบบสายส่งน้ำดับเพลิง รวมทั้งระบบสปริงเกอร์ที่เป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบันว่าเป็นระบบที่ช่วยส่งเสริมความปลอดภัยให้กับอาคารได้เป็นอย่างดี แต่มักพบปัญหาทั้งอาคารเก่าและอาคารใหม่ส่วนใหญ่ไม่ได้รับการออกแบบให้มีระบบต่าง ๆ เหล่านี้อย่างถูกต้อง การที่จะปรับปรุงอาคารให้ถูกต้อง จึงเป็นเรื่องที่ปฏิบัติได้ยาก ดังนั้นการกำหนดมาตรฐาน การกำหนดกฎกระทรวง เพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในการตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยของอาคารจึงเป็นเรื่องยาก เนื่องจากหากกำหนดไปแล้ว แต่ไม่สามารถปฏิบัติได้ก็จะกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง เพราะกฎหมายมีบทกำหนดโทษด้วย หากไม่ปฏิบัติตามก็ถือว่ามีความผิด ความผิดทั้งหมดก็ตกอยู่ทั้งกับเจ้าหน้าที่หากละเลยไม่ปฏิบัติ และอยู่กับเจ้าของอาคารที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงาน โดยทั่วไปแล้วหลักในการป้องกันอัคคีภัย มีแนวทางดังนี้
ภาพที่ 1
หลักการป้องกันอัคคีภัย
ระบบป้องกันอัคคีภัยกฎหมายกำหนดไว้ว่าอาคารที่เป็นอาคารสาธารณะ
อาคารขนาดใหญ่และอาคารสูง ต้องมีข้อกำหนดสำหรับการป้องกันอัคคีภัย
ที่หลีกเลี่ยงมิได้เด็ดขาด แม้แต่ในอาคารพักอาศัยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่
เช่น คอนโดมิเนียม อพาร์ทเมนท์ สถานที่ราชการ
ก็จำเป็นต้องมีระบบป้องกันอัคคีภัยตามสมควรไว้ด้วย ทั้งนี้เพื่อประโยชน์
และความปลอดภัยแก่ชีวิตและทรัพย์สินของผู้อยู่อาศัยหรือผู้ให้บริการ
การป้องกันอัคคีภัยวิธีแบบ
Active คือ การป้องกันโดยใช้ระบบเตือนภัย การควบคุมควันไฟ
ระบายควันไฟและระบบดับเพลิงที่ดี โดยมีรายละเอียด
ดังนี้
- ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเตือนภัย
เป็นระบบที่บอกให้คนในอาคารทราบว่า
มีเหตุฉุกเฉินจะได้มีเวลาสำหรับการเตรียมตัวหนีไฟหรือดับไฟได้ มีอุปกรณ์ในการเตือนภัย
2 แบบ คือ อุปกรณ์ตรวจจับเพลิงไหม้
(Fire Detector) อันได้แก่
อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) และอุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector) อีกแบบหนึ่ง คือ อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือเป็นอุปกรณ์ที่ให้ผู้พบเหตุเพลิงไหม้ทำการแจ้งเตือนมีทั้งแบบมือดึงและผลัก
ทั้งนี้ระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัย
มีอุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้มีอุปกรณ์หลัก มีดังนี้ Fire Alarm Control Panel (ตู้ควบคุมระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้) Graphic Annunciator Panel (ตู้แสดงผังตำแหน่งที่เกิดปัญหา) Signal Initiating Device (อุปกรณ์ส่งสัญญาณเตือนภัย) Audible Alarm Device (อุปกรณ์เสียงเตือนภัย) เป็นต้น
ภาพที่ 2 ระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัย
FIRE ALARM CONTROL PANEL (ตู้ควบคุมระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้)
หน้าที่การทำงานของตู้ควบคุมระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ เมื่อมีสัญญาณเพลิงไหม้ส่งมาจากโซนใด
Digital Zone Indicator ของโซนนั้นที่ Fire Alarm Control Panel (FCP) จะติดขณะเดียวกัน
FCP จะตรวจสอบว่าเป็นสัญญาณเพลิงไหม้จริงหรือไม่
โดยจะหน่วงเวลาไว้ 10-15 วินาที สำหรับกดปุ่มแจ้งสัญญาณเตือนภัย
Manual Pull Station Heat Detector และ Smoke Detector ภายในช่วงเวลาดังกล่าว
ถ้าไม่ใช่สัญญาณเพลิงไหม้จริง (เวลาไม่เกิน15 วินาที) FCP จะ Reset ตัวเองโดยอัตโนมัติ แต่ถ้าเป็นสัญญาณเพลิงไหม้จริง
(เวลาเกิน 15 วินาที) Zone Lamp LED ของโซนที่เกิดเพลิงไหม้ ซึ่ง FCP & Graphic Annunciator Lamp Led
จะติดพร้อมมีเสียงสัญญาณเตือน Buzzer ดังขึ้นที่ FCP และ Graphic Annunciator
ภาพที่ 3 ตู้ควบคุมระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้
GRAPHIC ANNUNCIATOR PANEL (ตู้แสดงผังตำแหน่งที่เกิดปัญหา)
หน้าที่การทำงานของตู้ Graphic Annunciator Panel เป็นแผนผังรูปแบบอาคารหรือสำนักงานสำหรับ
บอกตำแหน่งที่เกิดเพลิงไหม้ โดยแสดงผลเป็นโซนจะเป็นแผนผังอาคารมีหลอดไฟ LED
แสดงตำแหน่งชั้น หรือโซนที่เกิดเหตุนั้นๆ ซึ่ง Graphic Annunciator นี้จะอยู่ตามตำแหน่งที่ระบุในแบบนั้นมีสวิทย์สำหรับทดสอบ
Lamp Test (กดเพื่อทดสอบหลอด LED ติดทุกๆหลอด) Silence สวิตช์สำหรับหยุดเสียงเตือน
Buzzer และ LED ไฟแสดง Power on
ที่ประกอบอยู่หน้าตู้ Graphic Annunciator
ภาพที่ 4 ตู้แสดงผังตำแหน่งที่เกิดปัญหา
SIGNAL INITIATING DEVICE (อุปกรณ์ส่งสัญญาณเตือนภัย)
อุปกรณ์ส่งสัญญาณเตือนประเภท Smoke Detector
หน้าที่การทำงานของ Smoke Detector
เป็นชนิด Photo electric มี Response Lamp (LED) สำหรับแสดงภาวะ
โดยอุปกรณ์จะทำงานครอบคลุมพื้นที่ตรวจจับไม่น้อยกว่า 120
ตารางเมตร Ambient Temperature –15 ถึง +55 องศาเซลเซียส เมื่อเกิดควันหรือเพลิงไหม้ Smoke Detector จะส่งสัญญาณไปยังตู้ fire control panel
ภาพที่ 5 อุปกรณ์ส่งสัญญาณเตือนภัย ประเภท Smoke Detector
อุปกรณ์ส่งสัญญาณเตือนประเภท
Heat Detector ชนิด Rate
Of Rise Temperature หน้าที่การทำงานของ Heat Detector ชนิด Rate Of Rise Temperature
ใช้สำหรับตรวจจับความร้อนที่เกิดอย่างต่อเนื่องเกินกว่าอัตรา 10 องศาเซลเซียส ต่อนาที มี Response Lamp สำหรับแสดงสภาวะเมื่อ Detector
ทำงานพื้นที่ตรวจจับไม่น้อยกว่า 50 ตารางเมตร Ambient Temperature –10 ถึง +50 องศาเซลเซียส
อุปกรณ์ส่งสัญญาณเตือนประเภท
Heat Detector ชนิด Fixed Temperature หน้าที่การทำงานของ Heat Detector ชนิด Fixed Temperature
ทำงานที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส มี Response Lamp สำหรับแสดงภาวะเมื่ออุปกรณ์ทำงานพื้นที่ตรวจจับไม่น้อยกว่า
50 ตารางเมตร Ambient temperature
–15 ถึง +70 องศาเซลเซียส
ภาพที่ 6 อุปกรณ์ส่งสัญญาณเตือนภัย ประเภท Heat Detector
อุปกรณ์ส่งสัญญาณเตือนประเภท
Beam Smoke Detector หน้าที่การทำงานของ Beam Smoke Detector
ชนิดโฟโตอิเล็กตริก สามารถตรวจจับควันที่หนาทึบได้ดี มีหลักการทำงาน
2 แบบ คือ แบบควัน
บังแสงและแบบควันหักเหแสง (1) แบบควันบังแสง (Light
Obscuration) ลักษณะการทำงานจะมีแหล่งกำเนิดแสงและตัวรับแสง ปกติปริมาณแสงที่ตัวรับแสงได้จะมีค่าแน่นอนอยู่ค่าหนึ่ง
เมื่อมีควันเข้าไปในกล่องแสงที่ส่องไปกระทบตัวรับแสงจะถูกบังด้วยอนุภาคของควัน
เมื่อต่ำถึงค่าที่ตั้งไว้อุปกรณ์ตรวจจับจะตรวจได้ และทำงาน โดยปกติสีของควันจะไม่มีผลต่อการทำงานของอุปกรณ์
อุปกรณ์ตรวจจับแบบนี้ที่ใช้ทั่วไปจะเป็นแบบลำแสง (Beam Smoke Detector) ทำงานโดยที่แหล่งกำเนิดแสงจะส่องแสงผ่านพื้นที่ที่ต้องการป้องกันตรงไปที่ติดตั้งห่างออกไป
ส่วนประกอบจะมีตัวฉายแสงและตัวรับแสงแยกเป็นคนละตัวกัน รูปการทำงานของอุปกรณ์ตรวจจับควันแบบควันบังแสง
(ในสภาพปกติแสงจากแหล่งกำเนิดแสงผ่านอากาศไปถึงตัวรับแสง) และรูปการทำงานของอุปกรณ์ตรวจจับควันแบบควันบังแสง
(เมื่อมีควันแสงจากแหล่งกำเนิดแสงจะไปถึงตัวรับแสงน้อยลง) (2) แบบควันหักเหแสง (Light
Scattering) รูปการทำงานของอุปกรณ์ตรวจจับควันแบบควันหักเหแสง
(ในสภาพอากาศปกติแสงจากแหล่งกำเนิดจะไม่สะท้อนไปที่ตัวรับแสง) รูปการทำงานของอุปกรณ์ตรวจจับควันแบบควันหักเหแสง
( เมื่ออากาศมีควันแสงส่วนหนึ่งจะสะท้อนไปที่ตัวรับแสง)
ภาพที่ 7 อุปกรณ์ส่งสัญญาณเตือนภัยประเภท
Beam Smoke Detector
อุปกรณ์ส่งสัญญาณเตือนประเภท
Manual Pull Station เป็นแบบกล่องกลมสีแดงทำด้วยโลหะ
ปุ่มกดอยู่ใต้แผ่น Acrylic Plastic ไม่คม ไม่เป็นอันตราย
หรือเป็นกล่องสี่เหลี่ยมพลาสติก ปุ่มกดอยู่ใต้แผ่น กระจก หลักการทำงาน
เมื่อผู้ใดพบเห็นเพลิงไหม้หรือกลุ่มควันจำนวนมาก ให้ทำการกดหรือดึง Manual
Pull Station แล้วกระดิ่งจะดังขึ้น
เพื่อทำการแจ้งให้ผู้ที่อยู่ในอาคารทราบว่าเกิดเหตุเพลิงไหม้
ภาพที่ 8 อุปกรณ์ส่งสัญญาณเตือนภัยประเภท Manual Pull Station
อุปกรณ์เสียงเตือนภัย
AUDIBLE ALARM DEVICE หน้าที่การทำงานของ Alarm Bell มีดังนี้
1. Alarm Bell
เป็นกระดิ่งขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 150 มม.
( 15 ซม. ) ชนิด Motor Driven Method ตัวกระดิ่งทำด้วย
Aluminium Alloy สีแดงใช้กับแรงดัน 24 V DC 20 mA ระดับความดังไม่น้อยกว่า 90 dB ที่ระยะ 1 เมตร หรือเทียบเท่า ใช้ยี่ห้อทั่วไปได้ เป็นแบบ Sole Noie Motor
Driver ทำหน้าที่แจ้งสัญญาณเสียงเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้
2. Siren Electronic หรือ Horn / Strobes light
ซึ่งใช้ร่วมกับของ System Sensor และยี่ห้อทั่วไปที่ใช้ไฟ
DC 24 V
3. Fire indication Lamp เป็นหลอดไฟแสดงผลติดถาวรหรือแจ้งสัญญาณเตือนภัยกระพริบๆ ใช้ไฟ DC
24 V เป็นแบบ LED Current DC 21 mA ขนาด 9.5
ซม. เป็นแบบทรงกรวยสีแดง
ภาพที่ 9 อุปกรณ์ Alarm Bell
ความเหมาะสมของอุปกรณ์ส่งสัญญาณเตือนอัคคีภัย
อาทิ อุปกรณ์ตรวจจับควัน อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนและอุปกรณ์ตรวจจับเปลวไฟ แต่ละประเภทกับลักษณะของโรงงาน
โดยอาคารโรงงานต้องจัดให้มีอุปกรณ์ตรวจจับและแจ้งเหตุเพลิงไหม้ครอบคลุมทั่วทั้งอาคารตามความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่
โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ไม่มีคนงานปฏิบัติงานประจำและมีการติดตั้งหรือใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือจัดเก็บวัตถุไวไฟหรือวัสดุติดไฟได้ง่ายจะต้องติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับและแจ้งเหตุเพลิงไหม้อัตโนมัติ
อุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ต้องเป็นชนิดที่ให้สัญญาณ โดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้าจากระบบแสงสว่างและที่ใช้กับเครื่องจักรหรือมีระบบไฟสำรองที่จ่ายไฟสำหรับระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ได้ไม่น้อยกว่า
2 ชั่วโมง โดยต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับเพลิงไหม้อัตโนมัติและอุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ด้วยมือให้ครอบคลุมทั่วทั้งอาคาร
และการเลือกอุปกรณ์ต่างๆ
ต้องมีความเหมาะสมกับประเภทเชื้อเพลิงและสภาพการใช้งานในพื้นที่นั้นๆ
ตัวอย่างขั้นตอนการดำเนินงาน
ได้เข้าดำเนินการงานออกแบบและคำนวณระบบดับเพลิงด้วยน้ำอัตโนมัติในโรงงานผลิตเครื่องดื่ม
ซึ่งรายละเอียดของบริษัทฯ เป็นโรงงานตามกฎหมายกรมโรงงานอุตสาหกรรม
ซึ่งเป็นประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการป้องกันอัคคีภัยในโรงงาน พ.ศ. 2552
กฎหมายที่ออกตาม พ.ร.บ. ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554
ของกระทรวงแรงงาน และกฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
พ.ศ. 2522
จึงจำเป็นต้องมีการป้องกันอัคคีภัยตามกฎหมายที่กล่าวมาเพื่อป้องกันชีวิตและทรัพย์สินภายในโรงงานสามารถแจ้งเหตุและสามารถควบคุมอัคคีภัยที่เกิดขึ้นได้ทันเวลาจนไม่ขยายตัวลุกลามหรือทำให้อัคคีภัยที่เกิดขึ้นอยู่ในขอบเขตที่จำกัด
ซึ่งจะทำให้พนักงานและผู้ที่ใช้โรงงานได้มีระยะเวลามากขึ้นในการอพยพหนีออกจากโรงงานได้ทัน
ทำให้พนักงานและผู้ที่ใช้ในโรงงานมีความปลอดภัยยิ่งขึ้น
และทำให้ทรัพย์สินในโรงงานเสียหายน้อยลง
ดังนั้นจึงได้วางแผนการออกแบบระบบดับเพลิงบนพื้นฐานของความเข้าใจในลักษณะของทรัพย์สินที่จะป้องกัน
และออกแบบบนพื้นฐานของระบบป้องกันอัคคีภัยที่เลือกใช้สามารถป้องกันอัคคีภัยได้
ขั้นตอนการออกแบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงและท่อดับเพลิง
ในส่วนของขั้นตอนการออกแบบหัวกระจายน้ำดับเพลิง
ได้มีการประชุมกับผู้เกี่ยวข้องหน้างานถึงความเป็นไปได้ในการดำเนินงาน รวมถึงขอคำชี้แนะเพื่อให้งานสำเร็จได้
มีรายละเอียดดังนี้
ภาพที่ 10 ขั้นตอนการดำเนินงาน
ในส่วนของขั้นตอนการออกแบบท่อดับเพลิง
งานออกแบบและคํานวณ หมายถึง การใช้หลักวิชาและความชํานาญ เพื่อให้ได้มาซึ่งรายละเอียดในการก่อสร้าง
การสร้าง การผลิต หรือการวางผังโรงงานและเครื่องจักร โดยมีรายการคํานวณแสดงเป็นรูปแบบข้อกําหนดหรือประมาณการ
ขนาดควบคุมระบบดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัยที่มีพื้นที่ป้องกันอัคคีภัยตั้งแต่
2,000
ตารางเมตรขึ้นไป
(กฎกระทรวงกําหนดสาขาวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ. 2550)
ประเภทและขนาดที่ผู้ถือใบอนุญาตวิศวกรรมเครื่องกลระดับสามัญระบบดับเพลิงและป้องกัน
อัคคีภัยทุกขนาด (ข้อบังคับสภาวิศวกรว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
แต่ละระดับสาขาวิศวกรรมเครื่องกล พ.ศ. 2551)
งานออกแบบและคำนวณระบบดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัย
มีแนวคิดและมาตรฐานในการทํางาน ดังนี้
ก.
มาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย ของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
ข.
มาตรฐานหัวรับน้ำดับเพลิง กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย
ค.
มาตรฐานอุปกรณ์วาล์วกันกลับในระบบท่อน้ำดับเพลิง
ง.
มาตรฐานหัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย
จ.
มาตรฐานระบบดับเพลิงด้วยน้ำชนิดมีตู้สายฉีดน้ำดับเพลิง
ฉ.
มาตรฐานผลิตภัณฑ์เครื่องดับเพลิงชนิดหิ้วแบบผงเคมีแห้ง มอก. 332-2537
ช.
National
fire protection association (NFPA)
งานออกแบบและคํานวณ
ระบบดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัยตามมาตรฐานระบบดับเพลิงของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ประกอบด้วยหมวดต่าง
ๆ ดังนี้
ก.
ประเภทพื้นที่ครอบครอง
ข.
ระบบท่อยืนและตู้หัวฉีดน้ำดับเพลิง (ชื่อตามกฎกระทรวงฉบับที่ 33)
ค.
ระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิง
ง.
ระบบท่อน้ำดับเพลิงภายนอกอาคาร
จ.
อุปกรณ์วัสดุในระบบดับเพลิง
ฉ.
เครื่องสูบน้ำดับเพลิงและการติดตั้ง
ช.
เครื่องดับเพลิงแบบมือถือและการติดตั้ง
จากข้อมูลการวิเคราะห์และพิจารณาข้างต้น
จึงมีแนวทางในการออกแบบ ดังนี้
ในการออกแบบระบบดับเพลิงอัตโนมัติในโรงเก็บกล่องกระดาษและพลาสติกแห่งนี้จะต้องออกแบบให้เป็นตามกฎหมายตาม
พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) ข้อ 3,
18, 19 และ 20 กฎหมายที่ออกตาม พ.ร.บ. ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
พ.ศ. 2554 ของกระทรวงแรงงานและประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงาน
(พ.ศ. 2552) ข้อที่ 6, 7, 8, 9, 10, 11,
12, 13, 14, 15 และ 16
ภาพที่ 11 สำรวจพื้นที่หน้างาน
การคำนวณทางวิศวกรรม
การคำนวณจำนวนหัวกระจายน้ำดับเพลิง
จากขนาดพื้นที่ห้อง
กว้าง 24 เมตร x ยาว 84 เมตร = 2,016 ตารางเมร
ดังนั้น หาระยะ L (ระยะห่างของหัวกระจ่ายน้ำดับเพลิง แต่ละ Branch line)
1. วัดระยะความยาวของพื้นที่จะทำการออกแบบจากแบบแปลน = 84 เมตร
2. คำนวณหาจำนวน Branch line
= 21
3. เป็น 21 Branch line
4. นำจำนวน Branch
line มาหารกับระยะความยาวของห้องที่จะทำการออกแบบอีกครั้งหนึ่ง
จะได้ระยะห่างระหว่าง Branch line ต่อ Branch line
L actual = 12.1/3 = 4.03 = 4 เมตร
5.หาระยะห่างระหว่าง Branch
line กับผนังห้อง จาก
Lactual x (1/2)
Lactual = 4 เมตร
x (1/2)
Lactual = 2 เมตร
หาระยะ S (ระยะห่างของหัวกระจายน้ำดับเพลิงใน
Branch line เดียวกัน)
6. หาจำนวนหัวกระจายน้ำดับเพลิงบน Branch line เดียวกัน
พื้นที่ป้องกันสูงสุดต่อหัวกระจายน้ำดับเพลิง (NFPA13) กำหนด
9.3 ตารางเมตร
Smax =
Smax = 9.3 / 3 = 3.1 เมตร
7. หาจำนวนหัวกระจายน้ำดับเพลิงบน Branch line เดียวกัน
จากหัวกระจายน้ำดับเพลิงบน
Branch line = 24/3.1 = 7.74 = 8 หัว
8. หาระยะห่างจริงของหัวกระจายน้ำดับเพลิงบน
Branch line เดียวกัน จาก
Sactual = ความกว้างสุทธิของห้อง/
จำนวนหัวกระจายน้ำดับเพลิงที่หามาได้จากข้อที่ 7
Sactual = 24/8 = 3 เมตร
9.
คำนวณหาระยะห่างของหัวกระจายน้ำดับเพลิงกับผนังห้อง จาก
Sactual = 3 X (1/2) = 3 x 0.5 =1.5 เมตร
10.
นำระยะ Lactual และ Sactual ที่คำนวณได้กำหนดหัวกระจายน้ำดับเพลิงลงบนแบบแปลน
11.
หาพื้นที่ป้องกันต่อหัวกระจายน้ำดับเพลิง ( As ) ของพื้นที่ครอบครองแบบ Extra
Hazard
ตามข้อกำหนดของ NFPA 13 ไม่เกิน 9.3 ตารางเมตร
ในการออกแบบโรงงานแห่งนี้ ใช้ 7.06 ตารางเมตร
ดังนั้น พื้นที่ในการออกแบบ รวม 7,556 ตารางเมตร มีท่อยืน Riser จำนวน 4 ท่อ
Riser ที่ 1 คุมพื้นที่ 1,950
ตารางเมตร
Riser ที่ 2
คุมพื้นที่ 1,800 ตารางเมตร
Riser ที่ 3
คุมพื้นที่ 1,800 ตารางเมตร
Riser
ที่ 4 คุมพื้นที่ 2,016
ตารางเมตร
และจากการคำนวณและพล็อตหัวกระจายน้ำ
พบว่า มีจำนวนทั้งหมด 672 หัว เป็นหัวดับเพลิงเป็นแบบ Up Right และหาค่าแฟคเตอร์ของหัวกระจายน้ำและอัตราการไหลได้จากสมการ
K=
5.6 PNT ½ นิ้ว
Q= 80.6 LPM/ Bar2
การคำนวณปริมาณน้ำสำรองดับเพลิง
ซึ่งปริมาณน้ำสำรองน้ำดับเพลิงส่วนใหญ่ ก็อ้างอิงจาก
กฎหมายบังคับ การออกแบบปริมาณสำรองน้ำดับเพลิง ถ้าน้อยเกินไปก็จะไม่เพียงพอสำหรับการระงับเหตุเพลิงไหม้ได้
แต่ถ้าออกแบบปริมาณมากเกินไปก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มและต้องใช้พื้นที่ค่อนข้างมาก
ในการออกแบบอาจต้องนึกถึงเวลาที่รถดับเพลิงจะมาถึง
ทางเข้าออกสะดวกให้รถดับเพลิงเข้ามาโครงการ อาจต้องพิจารณาให้รอบด้านถึงความจำเป็น
ในกฎหมายไทยส่วนใหญ่จะระบุที่ 30 นาที สำหรับท่อยืน (สังเกตใช้คำว่า “ท่อยืน”) ตัวเลข 30 นาที
ตามกฎหมายและ NFPA14
Stand pipe ซึ่งใน NFPA14
ก็ระบุ 30 นาทีเช่นกัน
แต่ทั้งนี้ในมาตรฐาน วสท. และ NFPA13 ในการออกแบบระบบ Sprinkler จะระบุปริมาณน้ำสำรองโดยแยกเป็นพื้นที่ความอันตราย
เช่นพื้นที่อันตรายน้อยสำรองน้ำ 30-60 นาที
พื้นที่อันตรายปานกลาง สำรองน้ำ 60-90 นาที
พื้นที่อันตรายมากสำรองน้ำ 90-120 นาที
ในการออกแบบนี้ได้สำรองน้ำดับเพลิง 30 นาที
ตามกฎหมายประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงาน พ.ศ.
2552 หมวด 4 ระบบน้ำดับเพลิง ข้อ 10
ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดเตรียมน้ำสำหรับดับเพลิงในปริมาณที่เพียงพอที่จะสั่งจ่ายน้ำให้กับอุปกรณ์ฉีดน้ำดับเพลิงได้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลาไม่น้อยกว่า
30 นาที
การคำนวณขนาดเครื่องยนต์ในการออกแบบและคํานวณขนาดเครื่องยนต์สูบน้ำดับเพลิง
สำหรับอาคารทั่วไปอาคารสูงและโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อป้องกันชีวิตและทรัพย์สินจากอัคคีภัยที่อาจจะเกิดขึ้น
เครื่องสูบน้ำดับเพลิงมีคุณสมบัติแบบระบบขับเคลื่อนและระบบควบคุม
การคำนวณมีจำนวนท่อยืนทั้งหมด
4 ท่อยืน อัตราการไหลของ Fire
pump คือ 1,250 gpm เป็นพื้นที่ครอบครองอันตรายมาก
กลุ่มที่ 2 (Extra Hazard Occupancies Group 2) ปริมาณน้ำสำรอง
คิดที่เวลา 30-60 นาที / Fire pump = 1,250 gpm ( คำนวณเลือก 30 นาที)
ปริมาณน้ำสำรอง
= (1,250 x 3.78) x 30/1,000 = 141.75 ลบ.ม.
Head ท่อขนาด 6 นิ้ว ยาว 250 m.
Head ท่อขนาด 6 นิ้วทั้งหมด 250 x (2.8 m / 100 m) = 7 m.
ข้องอ
90 ขนาด 6 นิ้วจำนวน 5 ตัว ค่า K=0.11 =5 x 0.11 =0.55 m.
สามทาง
6 นิ้วลด 1.5 นิ้ว จำนวน 28 ตัว ค่า K = 0.23 = 28x0.23 = 6.44 m.
หัวสปริงเกอร์
72 หัว ค่า K
= 0.4= 72x0.4 =28 m.
ท่อ 4
นิ้ว ยาว 70 m.
= 70 x (4 m / 100 m) =2.8 m.
Head รวม = 12+0.55+6.44+28+2.8 = 49.79 m (กำหนด friction loss มีค่า 1.3)
= 49.79 x 1.3 = 64.727 m
จาก P =OH / (273.8 x 0.73)
P = [(348.8 m3/h) x 64.727 m]/[273.8
x 0.73]
P = 112.95 HP x
1.5 = 169.43 HP
ดังนั้นใช้ปั๊มขนาด
170 HP หรือ 170 แรงม้า
ทั้งนี้ ในขณะสูบน้ำ เครื่องสูบน้ำดับเพลิงจะต้องมีความสามารถสูบน้ำที่อัตราการไหลร้อยละ 150 ของอัตราสูบที่กําหนด ความดันทางด้านส่งจะต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของความดันที่กําหนด และเมื่อสูบน้ำที่อัตราการสูบน้ำเท่ากับศูนย์จะต้องมีความดันด้านส่งไม่เกินร้อยละ 140 ของความดันที่กําหนด
ภาพที่ 12 คุณลักษณะของเครื่องสูบน้ำ
การคำนวณขนาดถังน้ำมัน
(Fuel
Supply Tank Capacity ) ผู้ออกแบบไปตรวจงานห้องเครื่องสูบน้ำดับเพลิงและส่วนใหญ่ก็จะมีปัญหา
คือ ขนาดของถังน้ำมันสำหรับ Fire pump จะติดตั้งไม่ได้มาตรฐานและมีขนาดความจุไม่เพียงพอต่อการใช้งาน
กล่าวคือ ไม่ตรงตามมาตรฐานเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ถังน้ำมันสำหรับ Fire pump
มีขนาดตาม วสท. ระบุเพียงขนาดถังน้ำมันต้องมีความจุสามารถใช้งานได้อย่างน้อย
8 ชม. ซึ่งใน NFPA20 2016 edition ก็กล่าวไว้ตรงกัน
ใน NFPA20 2016 edition ยังระบุรายละเอียดเพิ่มเติม
และรายการคำนวณไว้ด้วย ดังนี้
NFPA20
2016 edition ถังจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงต้องมีความจุอย่างน้อยเท่ากับ 1 แกลลอนต่อแรงม้า (5.07 ลิตรต่อกิโลวัตต์) บวก 5 ปริมาตรเปอร์เซ็นต์สำหรับการขยายตัว และปริมาตร 5 เปอร์เซ็นต์สำหรับบ่อ
การคำนวณเริ่มต้นตามกำลังของเครื่องยนต์ที่ขับปั๊มดับเพลิงทั้งหมดถูกกำหนดโดยการเพิ่มค่าเผื่อสำหรับการขยายตัวของน้ำมันเชื้อเพลิงและการจมลง 170 gal +(170 gal x (5%+ 5%) =170 + 17 =187
gal(707.421 L)
ดังนั้น
ถังน้ำมันเชื้อเพลิงขนาดต่ำสุดสำหรับเครื่องยนต์ 170 แรงม้า (126.82 กิโลวัตต์)
ที่ขับเคลื่อนปั๊มดับเพลิงคือ 187 แกลลอน (707.421 ลิตร)
ในถังน้ำมันเชื้อเพลิงควรที่จะมีความสูงของท่อดูดน้ำมันเชื้อเพลิงให้สูงกว่าพื้นถังและให้เหลือน้ำมันเชื้อเพลิงไว้สำหรับตะกอนหรือการควบแน่นที่อาจอยู่ในถังประมาณ
5 เปอร์เซนต์
โดยวางตำแหน่งการเชื่อมต่อแหล่งจ่ายไปยังเครื่องยนต์ที่ด้านข้างของถังที่ระดับความสูงไม่ต่ำกว่ากว่าปั๊มเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ท่อประปาไปยังเครื่องยนต์จะอยู่ภายใต้แรงดันเล็กน้อยเสมอ
ในกรณีที่มีการรั่วไหลเชื้อเพลิงจะหลุดออกและสังเกตเห็นได้
วิธีนี้นิยมใช้กับการดึงอากาศเข้า ซึ่งอาจส่งผลให้เครื่องยนต์สูญเสียที่เป็นไปได้
ถ้าปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงสูงเกินไปอาจสร้างปัญหาร้ายแรงได้เนื่องจากเช็ควาล์วแบบสปริงโหลดได้จมและปล่อยให้เชื้อเพลิงจำนวนมากเพื่อโหลดเครื่องยนต์สูงสุด
หากสิ่งนี้เกิดขึ้น ดังนั้นปริมาณน้ำมันต้องมี Stand by ใน Tank
ตลอดเวลาไม่น้อยกว่า 2/3 ของปริมาตร tank
การคำนวณขนาดของเครื่องสูบน้ำ
ในการคำนวณขนาดของเครื่องสูบน้ำบอกได้ด้วยอัตราการไหลและแรงดันในขณะทำงานในการคำนวณหาขนาดของเครื่องสูบน้ำ
จำเป็นจะต้องคำนวณหาแรงดันทั้งหมดในระบบของเครื่องสูบน้ำ โดยคำจำกัดความของแรงดันต่างๆ
มีดังนี้
Static
Head หมายถึงความสูงเป็นเมตร ซึ่งวัดระหว่างผิวของแหล่งน้ำไปจนถึงระดับที่ปล่อยน้ำออก
Suction
Head หมายถึงความสูงเป็นเมตร ซึ่งวัดระหว่างผิวของแหล่งน้ำไปจนถึงแนวศูนย์กลางของเครื่องสูบน้ำ
Suction
Lift หมายถึงความสูงเป็นเมตร ซึ่งวัดระหว่างแนวศูนย์กลางของเครื่องสูบน้ำและผิวของแหล่งน้ำที่อยู่ต่ำกว่าเครื่องสูบน้ำ
หรือเป็นระยะทางในแนวดิ่งที่เครื่องสูบน้ำจะต้องยกน้ำขึ้นมา
Discharge
Static Head หมายถึงความสูงเป็นเมตร ซึ่งวัดระหว่างแนวศูนย์กลางของเครื่องสูบน้ำและระดับที่ปล่อยน้ำออก
เมื่อได้แรงดันสุทธิและอัตราการสูบน้ำที่ต้องการแล้วก็จะสามารถคำนวณหาขนาดของเครื่องสูบน้ำได้ดังนี้
HP = [QH]/[3,960ղ]
เมื่อ HP = แรงม้า
Q = อัตราการไหล GPM
H = แรงดันสุทธิเป็นฟุต
ղ = ประสิทธิภาพของเครื่องสูบน้ำ
หรือ kW = [QH]/[102ղ]
KW =
กิโลวัตต์ของมอเตอร์
Q = อัตราการไหล lps
H = แรงดันสุทธิเป็นเมตร
ทั้งนี้ในการคำนวณจะอ้างอิงแหล่งที่มาของสูตรที่ใช้ในการคำนวณมาจากหนังสือการออกแบบระบบท่อภายในอาคารของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
เขียนโดย ศ.ดร.วริทธิ์ อึ๊งภากรณ์ ISBN 974-86350-7-4 พิมพ์ครั้งที่ 22 วันที่ 1 สิงหาคม
2562 และ NFPA : Nation Fire Code,USA และหนังสือมาตรฐานการป้องกันอัคคีภัยของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย
ในพระบรมราชูปถัมภ์ เขียนโดยคณะอนุกรรมการมาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย ISBN
978-974-7197-56-3 พิมพ์ครั้งที่ 3 พฤษภาคม 2559
ซึ่งเป็นตำรามาตรฐานที่ใช้ในการอ้างอิงทั้งสมการและการคำนวณในด้านการป้องกันอัคคีภัย
การดำเนินงานที่สอดคล้องกับข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องและเอกสารที่ได้รับการรับรอง
การออกแบบต้องคำนึงถึงผู้ใช้เป็นหลักสอดคล้องกับข้อกฎหมายมาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพ
และมาตรฐานสากล โดยมีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้
1) สำรวจพื้นที่บริเวณในโรงงานที่ออกแบบ
วางแนวท่อ และสำรวจแหล่งจ่ายน้ำดับเพลิง ในการออกแบบนี้
ใช้น้ำจากการประปาส่วนภูมิภาค นำมาเก็บไว้ในถังคอนกรีตใต้ดิน ขนาดความจุ 150
ลูกบาศก์เมตร จำนวน 1 ถัง
2) ศึกษาสเปคอุปกรณ์ต่าง
ๆ ที่ใช้ในการออกแบบระบบดับเพลิงจากบริษัทที่จำหน่ายให้ถูกต้องตามกฎหมายและมาตรฐานที่กำหนดไว้
3) ศึกษาระบบดับเพลิง
และประเมินเพื่อแยกแยะพื้นที่ กำหนดระดับความเสี่ยง และระบุความต้องการของระบบดับเพลิง
และป้องกันอัคคีภัย.ให้ถูกต้องตามกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
4)
พิจารณาพื้นที่ครอบครองอันตรายมาก กลุ่มที่ 2 (Extra Hazard Occupancies Group 2)
5) นำข้อมูลทั้งหมดนำมาออกแบบร่างเพื่อเสนอให้กับเจ้าของโรงงาน
6) นำข้อมูลทั้งหมดมาคำนวณออกแบบระบบดับเพลิงอัตโนมัติขั้นละเอียด
7) คำนวณรายละเอียดระบบส่งน้ำดับเพลิง
คำนวณขนาดเครื่องสูบน้ำดับเพลิง
จากผลการปฏิบัติงานครั้งนี้เป็นการออกแบบระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติสำหรับพื้นที่ตามข้อกำหนดของกฎหมาย
ซึ่งต้องมีระบบสปริงเกอร์ (Sprinkler system) ที่ทำงานได้เองโดยอัตโนมัติ
เมื่อเกิดเพลิงไหม้ ผู้ขอรับการประเมินจึงทำการออกแบบระบบดับเพลิงและหัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติในพื้นที่อาคารดังกล่าว
โดยผลวิเคราะห์การออกแบบด้วยวิธีตารางท่อ (Pipe schedule) และทำการออกแบบและวิเคราะห์ผลในส่วนของการจัดวางตำแหน่งและระยะห่างของหัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติขนาดของท่อน้ำที่ใช้แล้ว
พบว่า มีจำนวนทั้งหมด 672 หัว เป็นหัวดับเพลิง เป็นแบบ Up Right บนพื้นที่ในการออกแบบ รวม 7,556 ตารางเมตร มีท่อยืน Riser จำนวน 4 ท่อยืน โดยแต่ละท่อยืน
หรือ Riser มีพื้นที่ควบคุมดังนี้ และรายละเอียดดังนี้
Riser ที่ 1 คุมพื้นที่ 1,950
ตารางเมตร ใช้หัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ
จำนวน 180 หัว
Riser ที่ 2 คุมพื้นที่ 1,800
ตารางเมตร ใช้หัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ
จำนวน 162 หัว
Riser ที่ 3 คุมพื้นที่ 1,800
ตารางเมตร ใช้หัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ
จำนวน 162 หัว
Riser ที่ 4 คุมพื้นที่ 2,016
ตารางเมตร
ใช้หัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ จำนวน 168 หัว
ในด้านการคำนวณเครื่องยนต์สำหรับต้นกำลังขับปั๊มดับเพลิง
เลือกใช้แบบ Vertical
Turbine Pumps คำนวณกำลังแรงม้าได้ 170 hp เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายของกรมโรงงานและพระราชบัญญัติ
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554
มีระยะเวลาที่ใช้ดับเพลิง
ตามกฎหมายของกรมโรงงานอุตสาหกรรมให้ใช้ระยะเวลาต่ำสุด 30 นาที
สามารถคำนวณปริมาณน้ำได้ 141.75 ลบ.ม. แต่ปริมาณถังที่ออกแบบไว้ 110 ลบ.ม. และได้ทำการต่อท่อน้ำเข้ากับถังสูงของโรงงานซึ่งสูง
14 เมตร อีก 50 ลบ.ม รวมเป็น 191.75 ลบ.ม
สรุป
ความยุ่งยากและซับซ้อน
ปัญหาในการดำเนินการ
ความยุ่งยากและซับซ้อนในการออกแบบระบบดับเพลิงด้วยน้ำของโรงงานแห่งนี้
เป็นโรงงานที่มีพื้นที่ 7,556 ตารางเมตร เป็นอาคารโรงงานเก็บกล่องกระดาษและพลาสติก
ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงอย่างดี จึงเกิดปัญหาการออกแบบได้ในแบบก็จริง แต่ปัญหาเรื่องการติดตั้งระบบท่อในโรงงาน
เพราะการติดตั้งจะต้องใช้วิธีการเชื่อมไฟฟ้าจะต้องมีการขนย้ายเม็ดพลาสติกออกก่อนในขณะที่มีการเชื่อมแนวท่อดับเพลิง
และจะต้องมีการเฝ้าระวังป้องกันหาอุปกรณ์กันไฟตลอดเวลา
ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการ
ปัญหาในการออกแบบการคำนวณปริมาณการใช้น้ำทั้งหมด
นำมาคิดจะให้ถังเก็บน้ำสำหรับดับเพลิงจำนวนมาก
เนื่องจากงบประมาณที่จำกัดจะคิดปริมาณการใช้น้ำที่หัวดับเพลิงจำนวน 672
หัวระยะเวลาที่ใช้ดับเพลิงตามกฎหมายของกรมโรงงานอุตสาหกรรมให้ใช้ระยะเวลาต่ำสุด 30
นาที คำนวณปริมาณน้ำได้ 141.75 ลบ.ม.
แต่ปริมาณถังที่ออกแบบไว้ 110 ลบ.ม.
ผู้ขอรับการประเมินจึงได้ทำการต่อท่อน้ำเข้ากับถังสูงของโรงงานซึ่งสูง 14 เมตร อีก
50 ลบ.ม. รวมปริมาตรความจุ 191.75 ลบ.ม.
ข้อเสนอแนะ
ควรมีการจัดฝึกอบรมการใช้อุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัยให้แก่ผู้ปฏิบัติหน้างานพร้อมแนวทางในการปฏิบัติเมื่อเกิดอัคคีภัย
และด้านการคำนวณในการพัฒนางานขั้นต่อไป ควรมีการใช้การคำนวณแบบไฮดรอลิก (Hydraulic
Calculation) ในการหาอัตราการไหลภายในท่อดับเพลิงของแต่ละท่อย่อย
ซึ่งจะทำให้ค่าคำนวณที่ได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น
และควรมีการตรวจสอบการทดสอบและการบํารุงรักษาวัสดุอุปกรณ์ในระบบป้องกันอัคคีภัยอย่างสม่ำเสมอ
ตามรายละเอียดดังนี้
แนวทางการใช้ระบบท่อน้ำดับเพลิงภายนอกอาคาร
การทดสอบระบบควรมีการทดสอบระบบท่อน้ำด้วยกําลังอัดของน้ำในระหว่างการติดตั้ง
และภายหลังการติดตั้งระบบท่อน้ำดับเพลิงแล้ว
รวมถึงการล้างท่อน้ำภายหลังการติดตั้งด้วยเครื่องสูบน้ำดับเพลิงหรือเครื่องสูบน้ำธรรมดา
ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ก. การล้างท่อ
- ท่อน้ำทั้งหมดภายหลังการติดตั้งจะต้องล้างท่อด้วยอัตราการไหลของน้ำที่กําหนด
- ท่อน้ำที่ต่อจากระบบท่อน้ำดับเพลิงนอกอาคารไปยังระบบท่อยืนหรือระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงภายในอาคาร
จะต้องได้รับการล้างท่อก่อนการต่อระบบเช่น เดียวกัน
- การล้างท่อจะต้องทำจนแน่ใจว่าภายในท่อน้ำปราศจากสิ่งสกปรกใด
ๆ แล้ว
- อัตราการไหลของน้ำน้อยที่สุดในการล้างท่อ
จะต้องมีความเร็วของน้ำไม่น้อยกว่า 3 เมตรต่อวินาที (ประมาณ 10
ฟุตต่อวินาที)
ข.
การทดสอบท่อน้ำ
- ระบบท่อน้ำดับเพลิงที่ติดตั้งเสร็จแล้ว
จะต้องได้รับการทดสอบด้วยความดันของน้ำ
โดยอัดน้ำเข้าไปในระบบท่อทั้งหมดด้วยความดันไม่น้อยกว่า 1.3 เมกะปาสกาล (200 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) เป็นเวลา 2
ชั่วโมง หรือ 0.3 เมกะปาสกาล (50 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) ในกรณีที่ความดันใช้งานของระบบเกินกว่า 1.0 เมกะปาสกาล (150 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว)
ค.
การทดสอบการทํางาน
- หัวดับเพลิงแต่ละหัวทั้งหมดจะต้องได้รับการทดสอบการทํางานภายหลังระบบท่อน้ำทั้งหมดติดตั้งเสร็จแล้ว
โดยการเปิดวาล์วหัวน้ำออกและปิดภายใต้ความดันของน้ำในระบบ
ในกรณีที่ใช้เครื่องสูบน้ำดับเพลิงเป็นระบบส่งน้ำเครื่องสูบน้ำจะต้องกําลังทํางานอยู่ด้วย
- วาล์วควบคุมทั้งหมดจะต้องเปิดและปิดภายใต้ความดันของน้ำในระบบเช่นเดียวกัน
ตารางที่ 1
อัตราการไหลของน้ำที่ใช้ในการล้างท่อ
ขนาดท่อ
มิลลิเมตร (นิ้ว) |
อัตราการไหลของน้ำเหนือส่วนบนสุดของผนัง
(มิลลิเมตร) |
100
(4) |
1,576
(390) |
150
(6) |
3,331
(880) |
200
(8) |
5,905
(1,560) |
250
(10) |
9,235
(2,550) |
300
(12) |
13,323
(3,250) |
แนวทางการใช้เครื่องสูบน้ำดับเพลิง
การควบคุมการทํางานของเครื่องสูบน้ำในระบบดับเพลิงควรมีแนวทางดังนี้
ก. เครื่องสูบน้ำดับเพลิงแต่ละชุดต้องมีแผงควบคุมแยกเป็นอิสระ
ห้ามใช้รวมกัน
ข.
แผงควบคุมเครื่องสูบน้ำดับเพลิงแต่ละชุดต้องมีท่อส่งความดันไปยังสวิตช์ความดันแยก เป็นอิสระห้ามใช้ร่วมกัน
ค.
แผงควบคุมเครื่องสูบน้ำรักษาความดันแต่ละชุด ต้องมีท่อส่งความดันไปยังสวิตช์ความดันแยกเป็นอิสระห้ามใช้ร่วมกัน
ภาพที่ 13 แผนผังแสดงตัวอย่างการจัดวางชุดควบคุมเครื่องสูบนำ้ระบบดับเพลิง
ง.
การตั้งค่าสวิตช์ความดันสําหรับเครื่องสูบน้ำรักษาความดัน (Jockey pump)
- ความดันที่เครื่องสูบน้ำรักษาความดันหยุดทํางาน
(Stop) ให้ตั้งค่าเท่ากับความดันกรณีที่ค่าความดันของเครื่องสูบน้ำดับเพลิงที่อัตราการไหลเท่ากับศูนย์ทํางานรวมกับค่าความดันน้อยสุดของแหล่งน้ำดับเพลิงเกินกว่าความดันใช้งานของอุปกรณ์ในระบบให้ตั้งค่าความดันหยุดทํางานเท่ากับความดันใช้งานของอุปกรณ์นั้นรวมกับค่าความดันน้อยสุดของแหล่งน้ำดับเพลิง
- ความดันที่เครื่องสูบน้ำรักษาความดันเริ่มทํางาน
(Start) ให้ตั้งค่าน้อยกว่าความดันที่เครื่องสูบน้ำรักษาความดันหยุดทํางาน
10 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (0.7 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร)
จ. การตั้งค่าสวิตช์ความดันสําหรับเครื่องสูบน้ำดับเพลิง
(Fire
pump)
- ความดันที่เครื่องสูบน้ำดับเพลิงตัวแรกเริ่มทํางานให้ตั้งค่าน้อยกว่าความดันที่เครื่องสูบน้ำรักษาความดันเริ่มทํางาน
5 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (0.35 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร)
- กรณีที่มีเครื่องสูบน้ำดับเพลิงทํางานร่วมกันมากกว่า
1 ตัว
เครื่องสูบน้ำตัวถัดไปให้เริ่มทํางานเมื่อความดันลดลงทุกๆ 10 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (0.7 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร)
- การหยุดเครื่องสูบน้ำดับเพลิงให้ควบคุมด้วยมือ
(Manual stop)
ตัวอย่าง เครื่องสูบน้ำดับเพลิงเครื่องหนึ่งที่อัตราการไหลเท่ากับศูนย์มีค่าความดัน 8 กิโลกรัมต่อ ตารางเซนติเมตร (115 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว)
และค่าความดันทางด้านดูดของเครื่องสูบน้ำดับเพลิงเท่ากับ 3.5 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร (50 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว)
ให้ตั้งค่าต่างๆ ดังนี้
ค่าความดันที่เครื่องสูบน้ำรักษาความดันหยุดทํางาน = 8 + 3.5 =
11.5 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร (150 + 50 = 165 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) ค่าความดันที่เครื่องสูบน้ำรักษาความดันเริ่มทํางาน
= 11.5 - 0.7 = 10.8 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร (165 - 10 =
155 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) ค่าความดันที่เครื่องสูบน้ำดับเพลิงตัวแรกเริ่มทํางาน
= 10.8 - 0.35 = 10.45 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร (155 - 5 =
150 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) ค่าความดันที่เครื่องสูบน้ำดับเพลิงตัวที่ 2
เริ่มทํางาน = 10.45 - 0.7 = 9.75 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร
(150 - 10 = 140 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) ค่าความดันที่เครื่องสูบน้ำดับเพลิงตัวที่สามเริ่มทํางาน
= 9.75 - 0.7 = 9.05 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร (140 - 10 =
130 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว)
ข้อเสนอแนะการใช้การตรวจสอบและทดสอบอุปกรณ์ของระบบดับเพลิง
การทดสอบเครื่องสูบน้ำดับเพลิงหลังจากติดตั้งชุดเครื่องสูบน้ำดับเพลิงเสร็จเรียบร้อยแล้ว
จะต้องทําการทดสอบการทํางานของเครื่องสูบน้ำดับเพลิงและอุปกรณ์ประกอบจนมั่นใจว่าทํางานได้ถูกต้องสมบูรณ์ตรงตามความต้องการ
โดยจะต้องจัดทํารายงานสรุปผลการทดสอบเครื่องสูบน้ำดับเพลิงและอุปกรณ์ประกอบ
มีรายละเอียด ดังนี้
ก.
กระแสไฟฟ้าเมื่อเริ่มสตาร์ท
ข.
กระแสไฟฟ้าเมื่อเดินเครื่องสูบน้ำดับเพลิงตามปกติแล้ว
ค.
ความดันน้ำทางด้านส่งของเครื่องสูบน้ำดับเพลิง
ง.
ความดันน้ำทางด้านดูดของเครื่องสูบน้ำดับเพลิงเริ่มทํางาน
จ.
อัตราการสูบน้ำที่ค่าความดันต่าง ๆ
ฉ.
รอบการทํางานของเครื่องยนต์
ช.
ผลการทํางานของระบบสตาร์ทเครื่องยนต์
ซ.
ผลการทํางานของระบบป้องกันเครื่องยนต์ต่าง ๆ เช่น
สัญญาณแจ้งเหตุเมื่อความร้อนสูงเกินไป รอบเครื่องยนต์สูงเกินไป ระดับน้ำมันต่ำไป
เป็นต้น
ฌ.
ความดันน้ำที่ทําให้วาล์วระบายน้ำอัตโนมัติทํางาน
หมายเหตุ
-
ข้อ ก. และ ข.
สําหรับเครื่องสูบน้ำดับเพลิงที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า
- ข้อ ฉ., ช.,
ซ. สําหรับเครื่องสูบน้ำดับเพลิงที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์
การดูแลรักษาเครื่องสูบน้ำดับเพลิง
ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้เพียงพอกับการดูแลรักษาเครื่องสูบน้ำดับเพลิง เพื่อทําหน้าที่เดินทดสอบเครื่องสูบน้ำดับเพลิงและอุปกรณ์เป็นประจํา
พร้อมทั้งคอยตรวจสอบและซ่อมบํารุงตามความจําเป็น
เพื่อให้เครื่องสูบน้ำดับเพลิงอยู่ในสภาพที่พร้อมที่จะใช้งานได้อยู่เสมอ โดยควรดำเนินการ
ดังนี้
ก.
การทดสอบเดินเครื่องสูบน้ำดับเพลิงขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซล
ให้ทําเป็นประจํา อย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง
ข. การทดสอบเดินเครื่องสูบน้ำดับเพลิงขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ให้ทําเป็นประจําอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง
บรรณานุกรม
· กฎกระทรวงฉบับที่ 33 (พ.ศ.2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร.
(2522). เข้าถึง ได้จาก http://cpd.bangkok.go.th/db/doc/building_control_33_2535.pdf
· พันธุ์พร นรพัลลภ. (2541) การวิเคราะห์การเกิดอัคคีภัยของอาคารสูงในกรุงเทพมหานคร:
กรณีศึกษาเขตคลองเตย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
· มาตรฐานการติดตั้งระบบป้องกันอัคคีภัย ของ NFPA (National Fire Protection Association). (2558). เข้าถึงได้จาก
· วริทธิ์ อึ๊งภากรณ์. (2541). การออกแบบระบบท่อภายในอาคาร.กรุงเทพฯ:ภาควิชา
วิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
· วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์.
(2556). มาตรฐานการป้องกันอัคคีภัยสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม
(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สภาวิศวกร.
· วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์.
(2559). มาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สภาวิศวกร.
· NFPA : National Fire Code, USA
· NFPA 2001 : Standard on Clean Agent Fire Extinguishing
System, 1994 Ed.
0 ความคิดเห็น: