บทความ :การส่งเสริมและยกระดับศักยภาพธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ไทยให้มีระบบการบริหารจัดการคุณภาพสู่มาตรฐาน ISO 9001 : 2015

 

การส่งเสริมและยกระดับศักยภาพธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ไทยให้มีระบบการบริหารจัดการคุณภาพสู่มาตรฐาน ISO 9001 : 2015

                                ชาญวิทย์ ตั้งสิริวรกุล1*  สถาพร ร่วมนาพะยา2  อภิรพร สุจริตรังษี2                                นภัส รุ่งโรจน์รัตนากร2  ฐาปนา สร้อยทอง2 และณัฏฐา น้อยเจริญ2

1 ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์, วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

2 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, กระทรวงพาณิชย์

* ผู้ประสานงานเผยแพร่ (Corresponding Author), E-mail: chanwit.t@cit.kmutnb.ac.th

บทคัดย่อ: บทความนี้นำเสนอแนวทางการส่งเสริมและยกระดับธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ไทยให้มีระบบการบริหารจัดการคุณภาพสู่มาตรฐาน ISO 9001:2015 โดยธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์เป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจ และเป็นหนึ่งในธุรกิจที่เป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ในฐานะหน่วยงานที่มีบทบาทส่งเสริมพัฒนาธุรกิจ SMEs ของไทย ตระหนักถึงความจำเป็นในการยกระดับศักยภาพธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ไทยให้มีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล จึงได้จัดกิจกรรมยกระดับความเชื่อมั่นธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ด้วยมาตรฐานสากล ภายใต้โครงการสร้างศักยภาพและโอกาสทางการค้าธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ไทย ปีงบประมาณ 2565 โดยวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เป็นผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเสริมสร้างความรู้ พัฒนา และปรับปรุงระบบการบริหารจัดการธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ ให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9001 (ด้านระบบบริหารงานคุณภาพ)  หนุนผู้ประกอบการนำระบบมาตรฐาน ISO 9001 เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ ให้เป็นที่ยอมรับจากผู้ใช้บริการอย่างกว้างขวางทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันแก่ผู้ประกอบการไทยให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล โดยการส่งเสริมเริ่มจาก 1) ประชาสัมพันธ์รับสมัครผู้ประกอบการ 2) อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญ การตีความและจัดทำเอกสารตามข้อกำหนด และ 3) ให้คำปรึกษาทั้งแบบหน้างานจริง ณ สถานประกอบการ และผ่านระบบ Zoom Video Communications ผลจากการดำเนินการ พบว่า ธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์สามารถจัดทำเอกสารตามข้อกำหนด และได้รับใบรับรองระบบมาตรฐาน ISO 9001:2015 จำนวน 37 กิจการ แสดงให้เห็นว่า แนวทางการส่งเสริมดังกล่าวมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามวัตถุประสงค์กิจกรรม

คำสำคัญ: ธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์, ระบบบริหารจัดการคุณภาพ, ISO 9001:2015

 

Promoting and upgrading the potential of Thai logistics service business to have a quality management system to ISO 9001 : 2015 standard

Chanwit Tangsiriworakul1*, Sathaporn Ruamnapaya2, Apiraporn Sutcharitrungsee2  Naphat Rungrodruttanakorn2, Thapana Sroythong2 and Nattha Noyjaroen 2

1 Department of Electronic Engineering Technology, College of Industrial Technology, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok

2 Department of Business Development, Ministry of Commerce

      * Corresponding author, E-mail: chanwit.t@cit.kmutnb.ac.th

Abstract: This paper presents a guideline for promoting and upgrading Thai logistics service business to have a quality management system to ISO 9001:2015 standard. The logistics service business is an important foundation for developing economic potential. And it is one of the businesses that are the heart of driving the country's economy. Department of Business Development, Ministry of Commerce as an agency that plays a role in promoting the development of Thai SMEs, recognizes the need to upgrade the potential of Thai logistics service businesses to have an efficient management system according to international standards. Therefore, we have organized activities to raise confidence in the logistics service business with international standards. Under the project to build potential and trade opportunities for Thai logistics service business, fiscal year 2022 by the College of Industrial Technology King Mongkut's University of Technology North Bangkok be an expert to enhance knowledge, develop and improve logistics business management system according to the quality according to ISO 9001 (Quality Management System) Encourage entrepreneurs to adopt the ISO 9001 system to increase efficiency in business operations. to be widely accepted by users both domestically and internationally as well as increasing the competitiveness of Thai entrepreneurs to be able to compete internationally. The promotion starts from 1) public relations to recruit entrepreneurs 2) train to educate about the importance of interpretation and documentation according to the requirements; and 3) consulting both on-site, on-site and through Zoom Video Communications. As a result of the operation, it was found that the logistics service business was able to prepare documents according to the requirements. and received the ISO 9001:2015 system certification for 37 businesses, showing that such promotion guidelines are efficient and effective according to the activity objectives

1. บทนำ

    ธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์เป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจ และเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ การให้บริการโลจิสติกส์ถือเป็นกระบวนการสำคัญที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ การดำเนินงาน เพราะธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ หมายรวมถึงธุรกิจให้บริการขนส่งและขนถ่ายสินค้า บริการคลังสินค้า ธุรกิจตัวแทนออกของพิธีการทางศุลกากร และธุรกิจรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ครอบคลุมการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ การเก็บสินค้า การบริการให้กับธุรกิจการค้า การผลิต การส่งออกและการบริการทุกประเภท ดังนั้น ธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์จึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย สามารถช่วยเสริมสร้างศักยภาพ ในการแข่งขันและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ธุรกิจอื่นๆ อันจะก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจและเพิ่มรายได้ให้กับประเทศ ส่งผลให้ประเทศไทยหลุดพ้นกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง

    ธุรกิจโลจิสติกส์ ถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายการพัฒนาในเขตเศรษฐกิจพิเศษของประเทศ ซึ่งเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามนโยบายการพัฒนาในเชิงพื้นที่ของรัฐบาล เพื่อให้มีการกระจายการพัฒนาไปสู่พื้นที่ต่าง ๆ โดยใช้กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หลากหลายเป็นตัวนำในการพัฒนา อันเป็นการนำมาซึ่งการลงทุน และการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่เฉพาะและพื้นที่ใกล้เคียง ทำให้ประเทศไทยมีการขยายตัวทั้งในส่วนของเศรษฐกิจภายในประเทศและการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นแกนหลักในการพัฒนาประเทศและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศเพิ่มมากขึ้น

      ดังนั้น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในฐานะหน่วยงานที่มีบทบาทในการส่งเสริมพัฒนาธุรกิจ SMEs ของไทย โดยเฉพาะผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทยให้รองรับการค้าออนไลน์ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วในหลากหลายรูปแบบ จึงดำเนินกิจกรรม “สร้างศักยภาพและโอกาสทางการค้าธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ไทย” และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ             เป็นผู้เชี่ยวชาญ โดยดำเนินการพัฒนาบุคลากรให้เป็นมืออาชีพด้านการบริหารจัดการในธุรกิจ        โลจิสติกส์ เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพให้เป็นมาตรฐานระดับสากล มีโอกาสขยายช่องทางการตลาดสู่ต่างประเทศ ส่งผลต่อการขยายตัวของมูลค่าธุรกิจโลจิสติกส์ของประเทศในภาพรวม และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มในระดับห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งท้ายที่สุดจะทำให้เศรษฐกิจไทยมีความเข้มแข็ง เติบโตได้ และนำไปสู่การพัฒนาบนพื้นฐานของความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน อย่างแท้จริง

2. วัตถุประสงค์

   2.1 เพื่อพัฒนาบุคลากรในสายงานให้บริการโลจิสติกส์ ให้เป็นมืออาชีพด้านการบริหารจัดการธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์

  2.2 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ไทยมีระบบการบริหารจัดการที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9001 เป็นที่น่าเชื่อถือและได้รับการยอมรับจากผู้ใช้บริการอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและต่างประเทศ

   2.3 ธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์มีขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับสากล

3. การส่งเสริมสนับสนุนและผลการดำเนินการ

    การส่งเสริมและสนับสนุนให้ธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์มีระบบการบริหารจัดการคุณภาพสู่มาตรฐาน ISO 9001 : 2015 โดยได้ออกแบบและดำเนินการวิธีการส่งเสริมเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้

 3.1 การรับสมัครธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์เข้าร่วมโครงการวิเคราะห์และประเมินศักยภาพธุรกิจที่สมัครเข้าร่วมโครงการ

    ได้รับสมัครธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์เข้าร่วมโครงการผ่าน 2 ช่องทาง ได้แก่ 1) การประชาสัมพันธ์และการสัมมนาเพื่อสร้างความรู้มาตรฐาน ISO9001 ยุค New Normal โดยจัดขึ้น ณ โรงแรม จำนวน 5 ครั้ง กระจายครอบคลุม 5 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี ระยอง นครราชสีมา นครปฐม และสมุทรปราการ     และ 2) การสมัครเข้าร่วมโครงการทางอีเมล์

    จากผลการประชาสัมพันธ์ พบว่า มีธุรกิจให้บริการ โลจิสติกส์สมัครผ่านช่องที่ 1 จำนวน 75 กิจการ และสมัครผ่านอีเมล์ จำนวน 1 กิจการ แสดงให้เห็นว่า การประชาสัมพันธ์แบบเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ณ พื้นที่จังหวัด มีประสิทธิภาพมากกว่า

รูปที่ 1 ใบประชาสัมพันธ์

     3.2 เกณฑ์การคัดเลือกธุรกิจให้บริการ โลจิส ติกส์เข้าร่วมพัฒนาระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001:2015

    เพื่อให้การสนับสนุนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตรงตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรม จึงได้กำหนดเกณฑ์คัดเลือกธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ที่มีความตั้งใจและความมุ่งมั่นในการพัฒนาระบบ ISO 9001:2015 ดังนี้

คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการ

    1) เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ และมีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการด้านการให้บริการโลจิสติกส์

    2) กรรมการผู้มีอำนาจหรือหุ้นส่วนกิจการ อย่างน้อย 2 ใน 3 เป็นบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย

    3) มีผู้ถือหุ้นเป็นคนไทย ร้อยละ 51 ขึ้นไป

    4) ส่งใบสมัคร พร้อมทั้งเอกสารประกอบการสมัครตามระยะเวลาที่กำหนด

   5) ไม่เคยได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 9001 จากการเข้าร่วมโครงการฯ กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

    6) ส่งงบการเงินประจำปี ตามระยะเวลาที่กำหนด

3.3 จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องข้อกำหนดของระบบบริหารคุณภาพและขั้นตอนในการพัฒนาสู่มาตรฐาน  ISO 9001 

    ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องข้อกำหนดของระบบบริหารคุณภาพและขั้นตอนในการพัฒนาสู่มาตรฐาน ISO 9001 จำนวน 6 ชั่วโมง โดยแบ่งเป็น 2 หลักสูตร ดังนี้

    หลักสูตรความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับระบบคุณภาพ ISO 9001:2015

·     นะนำโครงการพัฒนาธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์สู่มาตรฐาน ISO 9001 ประจำปีงบประมาณ 2565

·     แนะนำมาตรฐาน ISO 9001:2015  และการตีความข้อกำหนด และขั้นตอนการพัฒนาสู่มาตรฐาน ISO 9001

    หลักสูตรการจัดเตรียมเอกสารระบบคุณภาพ

·         การจัดทำเอกสารคุณภาพ (Quality Procedure)

·     Workshop 1: การจัดทำนโยบายคุณภาพ

·     แบบฟอร์มระบบการจัดการ (Form)

    ผลจากจัดกิจกรรมให้ความรู้ฯ พบว่า มีจำนวนธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน  รวม 54 คน ซึ่งเป็นตัวแทนและทีมงานของแต่ละสถานประกอบการในการร่วมจัดทำระบบ ISO 9001:2015 ต่อไป

 รูปที่ 2 การฝึกอบรมข้อกำหนด

     3.4 การให้คำปรึกษาแนะนำในการจัดทำระบบ ISO 9001:2015

    ได้ดำเนินการให้คำปรึกษาแนะนำเชิงปฏิบัติการ ณ สถานประกอบการของธุรกิจแต่ละราย จำนวน 2 mandays และให้คำปรึกษาเพิ่มเติมผ่านระบบออนไลน์ Zoom จำนวน 2 ครั้ง รวมถึงให้ธุรกิจจัดส่งเอกสารผ่าน Google classroom ให้ที่ปรึกษาทวนสอบความถูกต้องของเอกสาร ซึ่งจะช่วยให้องค์กร    มีระบบเอกสารที่สอดคล้องกับข้อกำหนด ISO 9001 รวมทั้งสิ้น จำนวน 38 ราย

    ผลจากการให้คำปรึกษา พบว่า แต่ละธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์มีผลสำเร็จของกิจกรรม ดังนี้

    1. มีการแต่งตั้งทีมในการจัดทำระบบ (Working Teams) 

    2. กำหนดขอบข่ายของการจัดทำระบบ มาตรฐานสากล ISO 9001:2015

    3. มีนโยบายคุณภาพ

    4. มีเอกสารบริบทองค์กรและวิเคราะห์ความเสี่ยง

    5. วัตถุประสงค์คุณภาพและแผนงาน

   6.มีระบบเอกสารคุณภาพการทำงานของแผนกต่างๆ ได้แก่ คู่มือคุณภาพ ระเบียบปฏิบัติงาน เอกสารขั้นตอนการปฏิบัติงาน เอกสารสนับสนุน และแบบฟอร์ม

    7. มีการตรวจประเมินความพร้อมก่อนการยื่นขอการรับรองระบบมาตรฐานสากล ISO 9001:2015 อย่างน้อย 1 ครั้ง

    8. มีรายงานการประชุมทบทวนของฝ่ายบริหาร

    9. องค์กรมีความพร้อมในการยื่นขอการรับรอง ISO 9001:2015

                                  รูปที่ 3 การส่งเอกสารผ่าน Google classroom

            3.5 จัดให้มีการตรวจประเมินผลการพัฒนาธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์

    จัดให้มีการตรวจประเมินผลการพัฒนาธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ตามมาตรฐานสากล ISO 9001 จำนวน 38 ราย โดยหน่วยงานรับรองระบบมาตรฐาน บริษัท GCL International (Thailand) จำกัด

    จากผลการดำเนินการ พบว่า ธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ที่ผ่านการประเมินและได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 9001:2015 จำนวน 37 ราย ดังตารางที่1 และไม่พร้อมดำเนินการตรวจประเมินรับรองรองมาตรฐาน จำนวน 1 ราย เนื่องจากผลของสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19

       ตารางที่ 1 รายชื่อธุรกิจที่ผ่านการประเมินและได้รับการับรองมาตรฐาน ISO 9001 : 2015

ลำดับที่

ชื่อสถานประกอบการ

1

บริษัท เลม่อน คาร์โก้ แมเนจเมนท์ จำกัด

2

ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาคภูมิ โลจิสติกส์

3

บริษัท กำแพงเพชรชนาพร ทรานสปอร์ต จำกัด

4

บริษัท โกลบลิ้งค์ (ไทยแลนด์) จำกัด

5

บริษัท เอชพีเอส เทรด จำกัด

6

บริษัท โชคสำราญทรานสปอร์ต จำกัด

7

บริษัท ซี.เอส.แอนด์ เอ็น ชิปปิ้ง จำกัด

8

บริษัท เอส เอส แอล โลจิสติกส์ จำกัด

9

บริษัท 24 ฟาสต์ จำกัด

10

บริษัท ยัวร์ ชิปปิ้ง แอนด์ คอนซัลแทนท์ จำกัด

11

บริษัท มะลิทอง โลจิสติกส์ จำกัด

12

บริษัท บิ๊กโฟร์ ทรานสปอร์ต จำกัด

13

บริษัท บูลเล็ท อินเตอร์เนชั่นแนล โลจิสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด

14

บริษัท ช.อยู่สถาพร จำกัด

15

บริษัท แปซิฟิค โลจิสติกส์ โปร จำกัด

16

บริษัท เอเชีย ชิปปิ้ง เซอร์วิส (ไทยแลนด์) จำกัด

17

ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทองเพชร ทรานสปอร์ต

18

ห้างหุ้นส่วนจำกัด กำพล บุศรินทร์ ขนส่ง

19

ห้างหุ้นส่วนจำกัด ตีรณา ทรานสปอร์ต

20

บริษัท ท็อป ทรานสปอร์ต แอนด์ โลจิสติกส์ จำกัด

21

บริษัท บางพลีใหญ่ขนส่ง จำกัด

22

บริษัท สยามไทยชิปปิ้ง  (ประเทศไทย) จำกัด

23

บริษัท ส.พันธมิตร โลจิสติกส์ จำกัด

24

บริษัท อลิตา ทรานส์ จำกัด

25

บริษัท ที.ที.ทองทิพย์ เซอร์วิส จำกัด

26

ห้างหุ้นส่วนจำกัด ธนบุตร ทรานสปอร์ต

27

บริษัท กฤตพงศ์ ขนส่ง จำกัด

28

บริษัท ธนชาต โลจิสติกส์ แอนด์ ออยล์ จำกัด

29

บริษัท ซันกรุ๊ป โลจิสติกส์ จำกัด

30

บริษัท แดน ผักกาด จำกัด

31

บริษัท สหโชคพัฒนาทรานสปอร์ต (1987) จำกัด

32

ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศรีพงษ์ทรานสปอร์ต

33

บริษัท เอ.เอส. โลจิสติคส์ จำกัด

34

ห้างหุ้นส่วนจำกัด หิรัญทรานสปอร์ต

35

บริษัท ปิยราช ขนส่ง จำกัด

36

บริษัท คิงส์โลจิสติกส์ จำกัด

37

บริษัท พาวเวอร์ฟูลทรานสปอร์ต จำกัด


 4. สรุปผล

    จากการส่งเสริมและยกระดับธุรกิจให้บริการ โลจิสติกส์เข้าสู่มาตรฐานการบริหารคุณภาพ ISO 9001:2015 โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เป็นหน่วยงานสนับสนุนและวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เป็นผู้เชี่ยวชาญ กระบวนการส่งเสริม ประกอบด้วยการประชาสัมพันธ์รับสมัครผู้ประกอบการ การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญ การตีความและจัดทำเอกสารตามข้อกำหนด และการให้คำปรึกษาทั้งแบบหน้างานจริง ณ สถานประกอบการ และผ่านระบบ Zoom Video Communications ผลจากการดำเนินการ พบว่า ธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์สามารถจัดทำเอกสารตามข้อกำหนด และได้รับใบรับรองระบบมาตรฐาน ISO 9001:2015 จำนวน 37 กิจการ แสดงให้เห็นว่าการส่งเสริมดังกล่าวมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามวัตถุประสงค์

5. เอกสารอ้างอิง

[1]    W. Suwong, “Strategy on Quality Management System ISO 90001:2015 Lion Tires (Thailand) Ltd”, The Journal of Political Science Suan Sunandha Rajabhat University, 2020, 21 – 29. (in Thai)

[2]  S. S. Pisitsungkakarn, “Energy Management System (ISO 50001) and Thai Law on Energy Conversation Promotion”, The Journal of Industrial Technology, 2014, 85 – 96. (in Thai)

[3]    กิจกรรมยกระดับความเชื่อมั่นธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ด้วยมาตรฐานสากลภายใต้โครงการสร้างศักยภาพและโอกาสทางการค้าธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ไทย ปีงบประมาณ 2565, กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์




Jirasak

ผู้ประกาศข่าว



0 ความคิดเห็น:

Distributed By My Blogger Themes | Designed By Bloggertheme9